ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และสิ่งที่นักเทรดต้องทราบ

Industrial Production data. What does a trader need to know?

Iการผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะเป็นตัววัดการเปลี่ยนแปลงในมูลค่าเงินเฟ้อรวมที่เปลี่ยนแปลงแล้วของผลผลิตที่ได้จากผู้ผลิต เหมือง และระบบสาธารณูปโภค ระดับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเป็นตัวบ่งชี้อันดับต้น ๆ ของสภาวะเศรษฐกิจเนื่องจากการผลิตตอบสนองต่อการขึ้นลงของวัฏจักรทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็ว และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้บริโภค เช่น อัตราการจ้างงาน ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมจะทำการเผยแพร่ทุกเดือน โดยปกติคือช่วงกลางเดือน

มีปัจจัยมากมายที่ส่งผลต่อการผลิตในภาคอุตสาหกรรมแต่ราคาพลังงาน และห่วงโซ่อุปทานเป็นปัจจัยหลัก เมื่อราคาวัตถุดิบสูงขึ้น ผู้ผลิตจะผลิตสินค้าในปริมาณเท่าเดิมในราคาเดิมได้ยากขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตต้องลดการผลิต หรือขึ้นราคาสินค้า อย่างแรกต้องมีการลดพนักงาน อย่างที่สองต้องมีการขึ้นราคา การลดจำนวนพนักงานนำไปสู่อัตราการว่างงานที่สูงขึ้น และราคาสินค้าที่สูงขึ้นซึ่งทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น

สิ่งต่าง ๆ มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วยห่วงโซ่อุปทาน พูดง่าย ๆ คือ เมื่อห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก เช่น ระหว่างการเกิดโรคระบาด โรงงานต่าง ๆ จะได้รับส่วนประกอบที่จำเป็นสำหรับการผลิตได้ไม่ตรงเวลา หรือไม่ได้รับในปริมาณที่เหมาะสม ส่งผลให้ต้องรอคอยสินค้าที่ได้สั่งซื้อไปแล้ว และเกิดความล่าช้าขึ้น ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลงด้วย

คุณจะอ่านข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกาได้อย่างไร?

ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมควรได้รับการประเมินเป็นสองระดับ ระดับแรกคือการเปรียบเทียบข้อมูลจริงกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ ระดับที่สองคือการตรวจสอบความเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในภาพรวมของการผลิตเพื่อให้เข้าใจว่ามีการชะลอตัว หรือมีการเติบโตหรือไม่

หากข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น แต่ความเป็นจริงแย่กว่าที่คาดไว้ อาจนำความผิดหวังมาสู่นักลงทุนได้ หากผลออกมาในเชิงลบ มันมักจะมาพร้อมกับการลดลงของดัชนีหุ้น และการเพิ่มขึ้นของดัชนีค่าเงินดอลลาร์

หากข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นและข้อเท็จจริงดีกว่าที่คาดไว้ นั่นเป็นสัญญาณของความสมบูรณ์ของเศรษฐกิจ โดยปกติแล้ว ข้อมูลดังกล่าว จะทำให้ดัชนีหุ้นจะสูงขึ้น และดัชนีค่าเงินดอลลาร์ลดลง

หากข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ลดลง แต่ความจริงดีกว่าที่คาดไว้ ตลาดก็อาจมองว่าอยู่ในแง่ดี แง่ดีคือการเพิ่มขึ้นของดัชนีหุ้น และค่าเงินดอลลาร์ที่ลดลง

หากข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐฯ ลดลง และข้อเท็จจริงแย่กว่าที่คาดไว้ ตลาดจะมองว่าอยู่ในแง่ลบ แง่ลบคือดัชนีจะลดลง และค่าเงินดอลลาร์จะสูงขึ้น

แน่นอนว่านี่เป็นแนวคิดทั่วไป เนื่องจากมีตัวเลขของปัจจับหลายอย่าง เช่น การใช้กำลังการผลิต ระดับการผลิตในภาคการผลิต และระดับการผลิตในเหมือง เป็นต้น ตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกา การผลิต 80% และการขุดเหมือง 20% แต่ในออสเตรเลีย การขุดเหมืองมีสัดส่วนเกือบครึ่งหนึ่งของการผลิตทั้งหมด

ข้อมูลการผลิตในภาคอุตสาหกรรมมีผลกระทบทั่วไปต่อตลาด และมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อราคาในขณะที่กำลังเผยแพร่ข่าวสาร

โดย JustMarkets, 29/6/2565